วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ตอบคำถามหน่วยที่2
1.จงบอกความหมายของสื่อการสอนให้ถูกต้อง
ตอบ.สื่อการสอน Instruction Mediaหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใดๆ ที่เป็นตัวกลางหรือพาหนะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน
2.จงอธิบายความสำคัญของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ.สื่อการสอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการศึกษา หรือการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สื่อการ สอน เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้มากขึ้น โดยเสียเวลาน้อยลง การได้เห็น ได้ยินช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอดได้ง่าย ทั้งยังช่วยเหลือในการศึกษาให้ทุกระดับความสามารถ อายุชั้นเรียนและทุกสาขาวิชาด้วย
3.จงอธิบายคุณสมบัติความของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ. 3.1สามารถจับยึดประสบการณ์ ทั้งในลักษณะของรูปเสียงสัญลักษณ์ต่างๆสามารถนำมใช้ตามต้องการ 3.2สามารถจัดแจง จัดการและปรับปรุงแต่งประสบการณ์ 3.3สามารถแจกจ่ายและขยายความของข่าวสารออกเป็นหลายๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมากและสามารถใช้ซ้ำได้หลายๆครั้ง
4.จงบอกถึงคุณค่าของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ. 4.1 เป็นศูนย์รวมความสนใจให้แก่ 4.2 ทำให้บทผู้เรียนเป็นที่น่าสนใจ 4.3 ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง 4.4 ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน 4.5 แสดงความหมายของสัญลักษ์ต่างๆ หน่าย 4.6 ให้ ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้ให้เกิดรูปนามธรรม 4.7 แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย 4.8 อธาบยสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น 4.9 สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้ เช่น 4.9.1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้ 4.9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้ 4.9.3 ย่อสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลงได้ 4.9.4 ย่อสิ่งที่เล็กเกินไปให้ใหญ่ขึ้นมาได้ 4. 9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาได้ 4.9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้
5.จงยกตัวอย่างคุณค่าของสื่อการสอนในคุณค่าด้านวิชาการ คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษามา อย่างน้อยด้านละ 1 ตัวอย่าง
ตอบ. 5.1 คุณค่าด้านวิชาการ 5.1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง 5.1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช่สื่อการสอน 5.1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวางและเป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น 5.1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา 5.1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน 5.1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น 5.2 คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ 5.2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น 5.2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว 5.2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง 5.3 คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา 5.3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น 5.3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ 5.3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน 5.3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง
6.จงจำแนกประเภทของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ.คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ 6.1การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 6.1.1 วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น - แผนภูมิ (Charts) - แผนภาพ (Diagrams) - ภาพถ่าย (Poster) - โปสเตอร์ (Drawing) - ภาพเขียน (Drawing) - ภาพโปร่งใส (Transparencies) - ฟิล์มสตริป (Filmstrip) - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes) - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ 6.1.2 อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่ - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors) - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors) - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors) - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers) - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers) - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers) 6.1.3 วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่ - บทบาทสมมุติ (Role Playing) - สถานการณ์จำลอง (Simulation) - การสาธิต (Demonstration) - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) - การจัดนิทรรศการ (Exhibition) - กระบะทราย (Sand Trays) 6.2 การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form) ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้ 6.2.1 สิ่งพิมพ์ (Printed Materials) - หนังสือแบบเรียน (Text Books) - หนังสืออุเทศก์ (Reference Books) - หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books) - นิตยสารหรือวารสาร (Serials) 6.2.2 วัสดุกราฟิก (Graphic Materials) - แผนภูมิ (Chats) - แผนสถิติ (Graph) - แผนภาพ (Diagrams) - โปสเตอร์ (Poster) - การ์ตูน (Cartoons) 6.2.3 วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment) - เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector) - เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector) - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector) - ฟิล์มสไลด์ (Slides) - ฟิล์มภาพยนตร์ (Films) - แผ่นโปร่งใส (Transparancies) 6.2.4 วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) - เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording) - เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver) - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver) 6.3 การจำแนกสื่อการสอนตามประสบการณ์ เอดการ์ เดล เชื่อว่าประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมจะทำให้เกิดการเรียนรู้แตกต่างกับ ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม ดังนั้นจึงจำแนกสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์เป็นหลักเรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก 10 ขั้น เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง (Direct Experiences) มีความหมายเป็นรูปธรรมมากที่สุดทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากประสบการณ์จริง เช่น เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ขั้นที่ 2 ประสบการณ์รอง (Verbal Symbols) เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจำกัด จำเป็นต้องจำลอง สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน เช่น หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จำลองทางดาราศาสตร์ ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramaticed Experiences) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์ตรง หรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด ความฝัน สามารถเรียนด้วยประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์จำลองได้ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงลำดับความคิดหรือกระบวนการเหมาะสมกับเนื้อหา ที่ต้องการความเข้าใจ ความชำนาญหรือทักษะ เช่น การสาธิตการผายปอดการสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) เป็นการพาผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมาย ที่แน่นอน ประสบการณ์นี้มีความเป็นนามธรรมมากกว่าการสาธิต เพราะผู้เรียนแทบไม่ได้มีส่วนในกิจกรรมที่ได้พบเห็นนั้นเลย ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibits) เป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้รับด้วยการดูเป็นส่วนใหญ่ อาจจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ เช่น ของจริง หุ่นจำลอง วัสดุสาธิต แผนภูมิ ภาพยนตร์ เป็นต้น ขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์ (Television and Motion Picture) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากกว่า การจัดนิทรรศการ เพราะผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยการดูภาพและฟังเสียงเท่านั้น ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง (Still Picture) เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟัง และการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรมมากขึ้น ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) เป็นประสบการร์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด บรรยาย การปราศรัย คำโฆษณา ฯลฯ ดังนั้นผู้เรียนควรมีพื้นฐานเช่นเดียวกับทัศนสัญลักษณ์นั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี ขั้นที่ 10 วัจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว แผ่นพับ ที่ใช้ตัวอักษร ตัวเลข แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด
7.จงบอกหลักการใช้สื่อการสอนให้ชัดเจน
อตอบ.ควรดำเนินตามขั้นตอนดังนี้ 1)ขั้นการเลือก (Selection) 2)ขั้นเตรียม (Preparation) 3)ขั้นการใช้หรือการแสดง (Presentation) 4)ขั้นติดตามผล (Follow up) 8.จงอธิบายข้อดีและข้อจำกัดของสื่อการสอนให้ถูกต้องอย่างน้อย 2ชนิด ตอบ. 1)หนังสือ สมุดคู่มือ เอกสารอื่นๆ -ข้อดีคือ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับบางคนได้แก่การอ่าน -ข้อจำกัดคือต้นทุนการผลิตสูง 2)ตัวอย่างของจริง -ข้อดีคือแสดงภาพตามความเป็นจริง -ข้อจำกัดคือจัดหาลำบาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น