วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 11

1. โสตทัศนูปกรณ์ มาจากคำใดบ้าง
ตอบ มาจากคำประสม โสตะ (การได้ยิน) Audio + ทัศนะ (การมองเห็น) Visual + อุปกรณ์ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Adio-Visual Equipments

3. Synchronize Tape คือ
ตอบ เครื่องบันทึกเสียงระบบสัมพันธ์ภาพและเสียง

4. Dissolve Control Unit คือ
ตอบ เครื่องควบคุมการฉาย

5. Rotary Tray คือ
ตอบ เป็นเครื่องฉายแบบถาดกลม

6. เครื่องฉายฟิล์มสตริฟสามารถใช้ร่วมกับเครื่องฉาย
ตอบ สไลด์

7. ภาพเคลื่อนไหวของภาพยนตร์เกิดจากหลักการ
ตอบ - มอเตอร์- เฟืองหนามเตย- ล้อส่งฟิล์ม (Feed Reel)- กวัก (Intermittent)- ใบพัดตัดแสง (Shutter)- ล้อรับฟิล์ม (Take-up Film)- คลัทช์ (Clutch)

8. ระบบประสาทในสมองจำภาพติดตาอยู่ได้ประมาณ
ตอบ 1 ใน 10 วินาที

9. วัสดุฉายที่ใช้ได้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ได้แก่
ตอบ 1. ตัวเครื่องฉาย2. แขนเครื่องฉายและหัวฉาย3. อุปกรณ์การฉายพิเศษ

10.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของโสตทัศนูปกรณ์ประเภทแสงมาอย่างน้อย 2 ชนิด
ตอบ 1. หลอดฉายและแผ่นสะท้อนแสง หลอดฉายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ1.1) หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent Lamp) เป็นหลอดฉายแบบเก่ามีขนาดใหญ๋ ภายในหลอดบรรจุด้วยไนโตรเจนหรืออาร์กอน ไส้หลอดทำด้วยทังสเตน ให้ความร้อนสูง อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 10 ชั่วโมง1.2) หลอดฮาโลเจน (Halogen Lamp) มีขนาดเล็กกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ตัวหลอดทำด้วยหิน (Quartz) ทนความร้อนได้ดี ภายในหลอดบรรจุด้วยสารเฮโลเจน และไอโอดิน ให้แสงสว่าง ขาวนวล สดใส อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 50 ชั่วโมง หลอดชนิดนี้ใช้กับเครื่องฉายสไลด์1.3) หลอดซีนอนอาร์ค (Zenon Arc Lamp) มีลักษณะเป็นหลอดยาวตรงกลางโป่งออก ภายในบรรจุด้วยก๊าซซีนอน แสงสว่างเกิดจากอนุภาคของไฟฟ้าจากขั้วหนึ่ง แสงสีขาวแรงจัดมาก หลอดชนิดนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนการอาร์คด้วยแท่งถ่าน ซึ่งต้องปรับระยะของถ่านชดเชยการสึกกร่อนอยู่ตลอดเวลา
2. วัสดุฉาย (Projected Matereals) คือวัสดุที่ใช้ควบคุ่กับเครื่องฉายเพื่อขยายเนื้อหาหรือรูปภาพให้มีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน เช่นฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นภาพโปร่งแสง และรูปภาพทึบแสง วัสดุฉายแสงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ2.1) วัสดุโปร่งใส (Transparent Materials)2.2) วัสดุโปร่งแสง (Translucent Materials)2.3) วัสดุทึบแสง (Opaque Materials)

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามหน่วยการเรียนที่10

1.ป้ายนิเทศมีลักษณะอย่างไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ ป้ายนิเทศ คือ แผ่นป้ายที่ใช้จัดแสดงทางการศึกษา หรือเป็นสื่อการเรียนการสอนใช้ถ่ายทอดความรู้ เรื่องราว ความคิด ข่าวสารโดยรูปภาพ แผ่นภาพ แผนภูมิ สถิติ ของจริง ของจำลองและอื่นๆ เสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามลำพัง และเรียนรู้ได้ง่าย
2.จงบอกประโยชน์ของป้ายนิเทศมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1. เป็นสื่อเร้าความสนใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน2. เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนทุกคนได้ศึกษาร่วมกัน โดยอาศัยเนื้อหาที่จัดแสดงไว้บนป้ายนิเทศ3. เป็นสื่อที่ใช้ในระหว่างการสอนหรือใช้ในการทบทวนบทเรียน4. เป็นสื่อที่นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง5. เป็นสื่อที่นักเรียนได้ร่วมกันจัดทำป้ายนิเทศ
3.ป้ายนิเทศที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมา 5 ข้อ
ตอบ ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดี 1. ใช้ภาพเป็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษ2. มีเรื่องราวครบบริบูรณ์แต่ไม่ควรจัดมากกว่า 1 เรื่อง3. มีความต่อเนื่องกันและมีความกลมกลืนกัน 4. มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว จุดอื่นๆเป็นจุดรอง 5. สามารถสร้างความรู้สึก ให้ผู้ดูสนใจติดตามการเคลื่อนไหว6. จัดให้มีภาพใกล้เคียงความจริง
4.จงอธิบายถึงการวางแผนในการจัดป้ายนิเทศมาทั้ง 7 ข้อ
ตอบ 1. ป้ายนิเทศ 1 ป้าย ควรแสดงเรื่องหรือความคิดเพียงเรื่องเดียว2. ต้องมีชื่อเรื่อง โดยมีเทคนิคการตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ และประดิษฐ์โดยใช้ตัวอักษร หรือวัสดุต่าง ๆ มาประกอบ หรือกระตุ้นและเร้าความอยากรู้ของผู้ดู 3. ควรวางแผนการจัดก่อนลงมือจัดจริง โดยคำนึงถึงหลักการออกแบบที่ดี การใช้ภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหา ตลอดจนใช้วัสดุอื่น ๆ มาใช้ประกอบ4. ใช้สีหรือทำให้น่าสนใจ ทั้งในส่วนที่เป็นเนื้อหาหรือการจัดทำพื้นป้าย 5. ใช้เส้นหรือทิศทางการจัดวาง เพื่อเป็นเครื่องช่วยนำสายตาของผู้ดูให้เกิดการรับรู้ที่ต่อเนื่องกัน6. ควรมีข้อความหรือคำอธิบายสั้น ๆ ประกอบ เพื่อให้ผู้ดูสามารถเรียนรู้สาระจากป้าย การใช้ตัวอักษรในส่วนนี้ ควรมีลักษณะที่อ่านง่าย ชัดเจน 7. ควรมีการประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนรู้คุณค่าของการจัดป้าย
5.หลักเกณฑ์ในการจัดป้ายนิเทศมีอะไรบ้างจงยกมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1.การกระตุ้นความสนใจ 2. การมีส่วนร่วม 3. การตรึงความสนใจ 4. ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ 5. การเน้น 6. การใช้สี
6.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดสื่อวัสดุ 3 มิติมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1. หุ่นจำลอง (Models) หุ่นจำลองเป็นวัสดุ 3 มิติที่สร้างขึ้นเฟื่อเลียนแบบของจริงหรือใช้แทนของจริง ที่ไม่สามารถจะนำมาแสดงได้โดยตรง มีการจัดทำหลายประเภท เช่น หุ่นจำลองแสดงลักษณะภายนอก หุ่นจำลองเหมือนของจริง หุ่นจำลอง แบบขยายหรือแบบย่อ หุ่นจำลองแบบผ่าซีก หุ่นจำลองแบบแยกส่วน หุ่นจำลองแบบเคลื่อนไหวทำงานได้ และหุ่นจำลองเลียนแบบของจริง เป็นต้น (กัลยา จยุติรัตน์ 2531 : 149- 150) การใช้หุ่นจำลองเป็นสารนิเทศนี้ นิยมใช้ในการเรียนการสอน เช่น ใช้เป็นอุปกรณ์ การสอนประกอบการเรียนวิชาแพทยศาสตร์ เป็นต้น เพราะทำให้ง่ายต่อความเข้าใจและเปิดโอกาสให้สามารถศึกษาลักษณะ และการทำงานของของจริงได้ง่ายขึ้น 2. ของจริง / ของตัวอย่างแสดงคุณลักษณะต่างๆได้ตรงตามสภาพจริงเป็นลักษณะ 3 มิติที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือสามารถจับต้อง พิจารณารายละเอียดต่างๆได้อย่างชัดเจน3. ตู้อันตรทัศน์ สื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติ กระตุ้นความสนใจ วัสดุประกอบฉากสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน

คำถามหน่วยการเรียนที่ 9

คำถามหน่วยการเรียนที่ 9

1. วัสดุกราฟฟิคมีลักษณะเป็นอย่างไรจงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media)และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเองคุณค่าของวัสดุกราฟิก
2. จงบอกคุณค่าของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1. ราคาถูก 2. ครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง 3. มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง
4. เก็บรักษาง่าย 5. สามารถประยุกต์หรือใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้ประโยชน์ของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิกมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้ 5.1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน 5.2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว 5.3. ประหยัดเวลา 5.4. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น 5.5. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน 6. ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้นลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดีวัสดุกราฟิกที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 6.1. มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว ชัดเจนทั้งรูปภาพ สัญลักษณ์ ตัวอักษะและถ้อยคำ 6.2. การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับภาพ สัญลักษณ์และตัวอักษรตามลำดับขั้นตอน 6.3. ต้องมีการเน้นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง เส้น หรือทิศทาง เพื่อแบ่งแยกข้อมูลที่เป็นใจความสำคัญให้เด่นกว่าข้อมูลอื่น ๆ 6.4. มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปภาพ 6.5. มีความประณีต สวยงาม ตามคุณค่าของศิลปกรรม
3.จงบอกประโยชน์ของวัสดุกราฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ. 1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน 2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว 3. ประหยัดเวลา 4. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น 5. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน 6. ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
4.วัสดุกราฟิคที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ. 1. ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชา 2. การออกแบบโดยการคำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้งานโดยมุ่งที่จะได้รับจากการใช้วัสดุกราฟิกเพื่อการสื่อความหมายสำคัญ 3. การออกแบบวัสดุกราฟิกควรมีลักษณะง่าย ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากเกินไป และขบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน 4. คำนึงถึงความประหยัดทั้งเงินงบประมาณและเวลาในการจัดทำ 5. มีสัดส่วนดี องค์ประกอบทั้งหมดกลมกลืน เช่น รูปแบบ พื้นผิว เส้น สี เป็นต้น 6. มีโครงสร้างที่เหมาะสม กลมกลืนกับวัฒนธรรม สังคม และมีความถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง
5.จงบอกหลักการออกแบบวัสดุกราฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ. วัสดุกราฟิกชนิดต่าง ๆ ที่นิยมนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนมีดังนี้ 1. แผนภูมิ (Charts) แผนภูมิเป็นวัสดุประเภทกราฟิก ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ การเปรียบเทียบ ความต่อเนื่อง กระบวนการ ความสัมพันธ์ ขั้นตอน เป็นต้น ลักษณะแผนภูมิที่ดี 1. เป็นแบบง่ายและแสดงแนวคิดเดียว 2. ขนาดใหญ่ อ่านง่าย ไม่แน่นเกินไป 3. ใช้สีเพื่อการเน้นเป็นสำคัญ 4. ภาพประกอบต้องเหมาะสม น่าสนใจ 5. เนื้อหาถูกต้องตามความเป็นจริง 6. เนื้อหาและคำบรรยายชัดเจน อ่านง่าย 7. มีการทบทวนในการใช้งานและการเก็บรักษา เทคนิคการนำเสนอ 1. แผนภูมิต้องตรงกับเนื้อหา 2. ต้องติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย 3. อธิบายตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง 4. ขณะใช้แผนภูมิต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียน 5. จุดสนใจควรเน้นด้วยสี ขนาด การปิด-เปิด 6. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอ 7. การชี้แผนภูมิควรใช้ไม้หรือวัสดุชี้ 8. สามารถใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้ ประเภทของแผนภูมิมี 8 ประเภท 1. แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts) แสดงให้เห็นสิ่งหนึ่ง ๆ แยกออกเป็นหลายสิ่ง 2. แผนภูมิแบบสายธาร (Streem Charts) ใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่ง ๆ เกิดจากหลายสิ่งมารวมกันจะมีลักษณะตรงกันข้ามกับแผนภูมิแบบต้นไม้ เช่น มีวัสดุอะไรบ้างรวมกันเป็นคอนกรีต เป็นต้น 3. แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts) ใช้แสดงลำดับขั้นของการทำงานเช่นขั้นตอนการตอนกิ่งไม้ ขั้นตอนการปฐมพยาบาล คนตกน้ำ เป็นต้น 4. แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของสายงานในองค์การ หรือหน่วยงานหนึ่ง ๆ เช่น แผนภูมิการบริหารงานของโรงพยาบาล เป็นต้น 5. แผนภูมิเปรียบเทียบ (Comparison Charts) ใช้สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่น ลักษณะยุงลายกับยุงก้นปล่อง ลมบกและลมทะเล เป็นต้น 6. แผนภูมิแบบตาราง (Table Charts) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์ เช่น ตารางการเดินรถ ตารางเรียน เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ เป็นต้น 7. แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Evolution Charts) ใช้แสดงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ 8. แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Pictorial Charts) ใช้ชี้แจงส่วนต่าง ๆ ของภาพให้เห็นชัดเจน เช่น ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ อวัยวะภายในของมนุษย์ เป็นต้น 2. แผนสถิติ (Graph) แผนสถิติเป็นวัสดุลายเส้นที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อถือ และเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ลักษณะแผนสถิติที่ดี 1. ตัวอักษร เส้น สี ต้องชัดเจน น่าสนใจ 2. มีลักษณะดูแล้วเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 3. แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง 4. ควรนำเสนอในลักษณะเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล 5. แสดงขอมูลในลักษณะประมาณมิใช่เน้นความถี่ของข้อมูล ชนิดของแผนสถิติ แผนสถิติแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ 1. แผนสถิติแบบเส้น (Line or Curve Graph) เสนอข้อมูลได้ถูกต้องและรวดเร็วกว่าแบบอื่น ๆ แสดงแนวโน้มของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับเวลาได้อย่างชัดเจน 2. แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graph) เป็นแบบที่ทำได้ง่ายและอ่านเข้าใจง่ายกว่าทุกแบบ จึงนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง แผนสถิติแบบแท่งจะได้ผลดีในกรณีที่ข้อมูลเปรียบเทียบไม่เกิน 4-5 ชนิด 3. แผนสถิติแบบวงกลม (Cielr or Pie Graph) ใช้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบอัตราส่วนว่าเป็นอย่างไรของปริมาณทั้งหมดแผนสถิติแบบนี้มีข้อดีที่ช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนรวมได้พร้อมกัน 4. แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graph) ใช้แสดงผลิตผลของหน่วยงานต่าง ๆ โดยใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนข้อมูล เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ แผนสถิติแบบนี้จะนำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจ แต่ไม่ให้รายละเอียดมากนัก 5. แผนสถิติแบบแสดงพื้นที่ (Solid Graph) เป็นการใช้พื้นที่แสดงปริมาณของตัวเลขที่ต้องการเปรียบเทียบ แผนสถิติแบบนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่าทุกแบบ 3. แผนภาพ (Diagrams) แผนภาพเป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งของหรือของระบบการทำงาน เช่น การทำงานของลูกสูบรถยนต์ เครื่องกรองน้ำ ส่วนประกอบของดอกไม้ เป็นต้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภาพ ได้แก่ กระบวนการ ความสัมพันธ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ หรือโครงสร้างภายใน เป็นต้น ลักษณะแผนภาพที่ดี 1. มีรูปแบบง่าย ๆ แสดงแนวความคิดเดียว 2. ขนาดใหญ่พอสมควร รูปภาพ ตักอักษร อ่านได้ชัดเจน 3. ใช้สีแสดงความแตกต่างและความเหมือนกันเพื่อแสดงความหมายให้ชัดเจน 4. ควรใช้รูปภาพ สัญลักษณ์มากกว่าตัวหนังสือ เทคนิคการนำเสนอ 1. การใช้แผนภาพผู้เรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นก่อน 2. ควรใช้โสตทัศนวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมประกอบ เช่น รูปภาพ ของจริง ภาพยนตร์ เป็นต้น 3. แผนภาพจะต้องมีคำอธิบาย จะช่วยป้องกันการสับสนของผู้เรียน 4. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสมอ 5. ควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรูปภาพ
6.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1. แผนภูมิ (Charts) แผนภูมิเป็นวัสดุประเภทกราฟิก ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ นื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ การเปรียบเทียบ ความต่อเนื่อง กระบวนการ ความสัมพันธ์ ขั้นตอน เป็นต้น
ลักษณะแผนภูมิที่ดี
1. เป็นแบบง่ายและแสดงแนวคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่ อ่านง่าย ไม่แน่นเกินไป
3. ใช้สีเพื่อการเน้นเป็นสำคัญ
4. ภาพประกอบต้องเหมาะสม น่าสนใจ
5. เนื้อหาถูกต้องตามความเป็นจริง
6. เนื้อหาและคำบรรยายชัดเจน อ่านง่าย
7. มีการทบทวนในการใช้งานและการเก็บรักษา
เทคนิคการนำเสนอ
1. แผนภูมิต้องตรงกับเนื้อหา
2. ต้องติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย
3. อธิบายตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
4. ขณะใช้แผนภูมิต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียน
5. จุดสนใจควรเน้นด้วยสี ขนาด การปิด-เปิด
6. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอ
7. การชี้แผนภูมิควรใช้ไม้หรือวัสดุชี้
8. สามารถใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้
2. แผนสถิติ (Graph) แผนสถิติเป็นวัสดุลายเส้นที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อถือ และเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
ลักษณะแผนสถิติที่ดี
1. ตัวอักษร เส้น สี ต้องชัดเจน น่าสนใจ
2. มีลักษณะดูแล้วเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3. แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
4. ควรนำเสนอในลักษณะเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล
5. แสดงขอมูลในลักษณะประมาณมิใช่เน้นความถี่ของข้อมูล ชนิดของแผนสถิติ แผนสถิติแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ
1. แผนสถิติแบบเส้น (Line or Curve Graph) เสนอข้อมูลได้ถูกต้องและรวดเร็วกว่าแบบอื่นๆ แสดงแนวโน้มของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับเวลาได้อย่างชัดเจน
2. แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graph) เป็นแบบที่ทำได้ง่ายและอ่านเข้าใจง่ายกว่าทุกแบบ จึงนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางแผนสถิติแบบแท่ง ผลดีในกรณีที่ข้อมูลเปรียบเทียบไม่เกิน 4-5 ชนิด
3. แผนสถิติแบบวงกลม (Cielr or Pie Graph) ใช้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบอัตราส่วนว่าเป็นอย่างไรของปริมาณทั้งหมดแผนสถิติแบบนี้มีข้อดีที่ช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนรวมได้พร้อมกัน
4. แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graph) ใช้แสดงผลิตผลของหน่วยงานต่าง ๆ โดยใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนข้อมูล เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ แผนสถิติแบบนี้จะนำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจ แต่ไม่ให้รายละเอียดมากนัก
5. แผนสถิติแบบแสดงพื้นที่ (Solid Graph) เป็นการใช้พื้นที่แสดงปริมาณของตัวเลขที่ต้องการเปรียบเทียบ แผนสถิติแบบนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่าทุกแบบ
3. แผนภาพ (Diagrams) แผนภาพเป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งของหรือของระบบการทำงานเช่น การทำงานของลูกสูบรถยนต์ เครื่องกรองน้ำ ส่วนประกอบของดอกไม้ เป็นต้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภาพ ได้แก่ กระบวนการ ความสัมพันธ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ หรือโครงสร้างภายใน เป็นต้น
ลักษณะแผนภาพที่ดี
1. มีรูปแบบง่าย ๆ แสดงแนวความคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่พอสมควร รูปภาพ ตักอักษร อ่านได้ชัดเจน
3. ใช้สีแสดงความแตกต่างและความเหมือนกันเพื่อแสดงความหมายให้ชัดเจน
4. ควรใช้รูปภาพ สัญลักษณ์มากกว่าตัวหนังสือ
เทคนิคการนำเสนอ
1. การใช้แผนภาพผู้เรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นก่อน
2. ควรใช้โสตทัศนวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมประกอบ เช่น รูปภาพ ของจริง ภาพยนตร์ เป็นต้น
3. แผนภาพจะต้องมีคำอธิบาย จะช่วยป้องกันการสับสนของผู้เรียน
4. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสมอ
5. ควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรูปภาพ

7.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของวัสดุฉายมาอย่างน้อย 2 ชนิด
ตอบ 1. ภาพโฆษณาหรือภาพโปสเตอร์ ภาพโปสเตอร์เป็นทัศนวัสดุที่สร้างขึ้นชักชวน จูงใจ สร้างความประทับใจให้เกิดความประทับใจ ให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาและนำไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมในเวลาต่อไป
ลักษณะของภาพโปสเตอร์ที่ดี
1. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย
2. เด่นมองเห็นสะดุดตา
3. ข้อความสั้นกระชับได้ใจความ
4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม
5. สื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์
6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์
7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะห่างพอสมควร
2. รูปภาพ (Picture)
ลักษณะรูปภาพประกอบการสอนที่ดี
1. มีความหมายให้รายละเอียดตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
2. เป็นภาพที่คุ้นเคยกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
3. เป็นภาพที่ตรงกับความเป็นจริง ทันสมัย ประณีต
4. เป็นภาพที่สื่อความหมายได้ดี
5. มีสาระในภาพเพียงเรื่องเดียว
6. ควรเป็นภาพที่ถูกหลักการออกแบบ และมีคุณภาพทางเทคนิคดี
7. มีหัวเรื่องและมีคำอธิบายประกอบภาพ
ข้อดีและข้อจำกัดของรูปภาพ
ข้อดี
1. ทำประสบการณ์นามธรรมเป็นรูปธรรมได้
2. ราคาถูกจัดหาได้ง่าย เร้าความสนใจได้ดี
3. สามารถดัดแปลงให้เป็นสื่ออื่น ๆ ได้อีกมาก
4. ครอบคลุมเนื้อหาได้หลาย ๆ วิชา
5. ศึกษารายละเอียดได้โดยใช้เวลานานเท่าที่ต้องการ
6. ใช้ร่วมกับสื่ออื่น ๆ ได้แทบทุกชนิด
7. ใช้กับกระบวนการเรียนการสอนได้ทุกขั้นตอน
ข้อเสีย
1. รูปภาพอาจมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหญ่
2. ขาดมิติของความลึก ทำให้ดูไม่สมจริงสมจัง
3. ชำรุดฉีกขาดง่าย
เทคนิคการนำเสนอด้วยรูปภาพ
1. ใช้รูปภาพให้ตรงกับจุดหมายที่ตั้งไว้
2. ไม่ควรนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพพร้อมกัน
3. ควรติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย
4. อาจสร้างความสนใจด้วยการปิด - เปิดทีละส่วน
5. ใช้ควบคู่กับสื่ออื่น ๆ ได้ เช่น วีดีทัศน์ แผนภูมิ ของจริง
6. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น ตอบคำถาม เล่าเรื่องจากภาพ
7. รูปภาพที่ดี ๆ มีคุณค่า ควรผลึก หรือใส่กรอบให้แข็งแรง
8. เมื่อใช้เสร็จแล้วควรเก็บรักษาไว้หมวดหมู่เพื่อใช้ในโอกาสต่อไป

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ตอบคำถามหน่วยที่6

1.จงอธิบายความหมายของงานกราฟิคมาพอเข้าใจ
-ความหมาย “กราฟิค (Graphic)” มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือ Graphikos และ Graphein หมายถึง การเขียน, การวาดเขียนต่อมามีผู้ให้ความหมายหรือคำจำกัดความของคำว่า “กราฟฟิค” ไว้หลายประการ ทั้งไทยและเทศ โดยรวมแล้ว กราฟฟิค คือคำเรียกศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นงานกราฟฟิค ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของงานจิตรกรรมไทยมาช้านาน โดยงานจิตรกรรมไทยอาจถูกเรียกว่า ต้นกำเนิดกราฟฟิคไทยเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในอดีตการเขียนภาพเป็นรูปแบบหนึ่งในการถ่ายทอดเรื่องราว โดยจิตรกรจะนำเสนอความคิดเห็นทั้งด้านการเมือง สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานจิตรกรรมต่างๆ ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นมา โดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัย จากผลงานที่ถูกจำกัดด้วยอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิด แต่ทว่าในปัจจุบันรูปแบบของการสร้างผลงานนั้นแตกต่างออกไป แต่ผลของมันยังคงเหมือนเดิม กราฟฟิคนั้นคอยเล่าเรื่องราวไม่ต่างอะไรนักกับตัวอักษร และในหลายๆ ครั้งอาจทำให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ คงจะไม่ผิดหากผู้เขียนต้องการจะบอกว่า ในมุมมองของผู้เขียนแล้ว “จิตรกรรมไทย” ก็คือ “กราฟฟิคไทย” ในยุคแรกนั่นเอง
2.จงบอกความหมายและคุณค่าของงานกราฟฟิคให้ถูกต้องและครอบคลุม
-ความหมายของกราฟิค มาจากภากรีก 2 คำ คือ Graphikos และ GrapheinGraphikos หมายถึง การเขียนภาพทั้งที่เป็นภาพสีและภาพขาวดำและ Graphein หมายถึง การเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นในการสื่อความหมายดังนั้นเมื่อรวมกัน Graphic ก็จะหมายถึง การเขียนทั้งภาพสีและภาพขาวดำ ตลอดจนการเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นเพื่อสื่อความหมายคุณค่าของงานกราฟิค1.ช่วยถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้เป็นรูปธรรมได้ชัดเจน2.เป็นภาพที่ติดอยู่กับวัสดุต่างๆได้นาน สามารถนำมาอ้างอิงได้3.ช่วยให้การสื่อสารและการเรียนรู้สะดวกและมีประสิทธิภาพ4.ช่วยให้ผู้ชมเพลิดเพลินไปกับลายเส้นและสีสันที่สวยงาม5.เป็นสื่อที่มีปริมาณการรับรู้มากที่สุด
3.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดวัสดุที่ใช้ในงานกราฟิคมาอย่างน้อย 4 ประเภท
-วัสดุที่ใช้ในงานกราฟฟิคมี 5 ประเภท คือ1.กระดาษ กระดาษแต่ละชนิดมีลักษณะดังนี้1.1กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้1.2กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก1.3 กระดาษโปสเตอร์ (Poster paper)เป็นกระดาษปอนดืที่ขัดมันเรียบหน้าเดียว ส่วนอีกหน้าหนึ่งจะปล่อยให้หยาบไว้1.4 กระดาษวาดเขียน (Drawing Paper) เป็นกระดาษปอนด์ขาว แต่ทำให้เนื้อกระดาษสามารถรับสีได้ง่าย และมีผิวเหมาแก่การเขียนภาพระบายสี ดูดหมึกดูดสีไว้โดยง่าย1.5 กระดาษหน้าขาวหลังเทา นิยมเรียกว่า กระดาษ เทา-ขาว เหมาะกับการทำกล่องที่มีขนาดใหญ่ไม่มากนัก ทำบัตรคำ แผนภูมิ แผนภาพ โปสเตอร์วัสดุเขียนใช้ได้ทั้งปากกาสักหลาดและพู่กัน1.6 กระดาษชาร์ทสี เป็นกระดาษเนื้อบางแต่ผิวเรียบมีสีทั้งสองด้าน ส่วนใหญ่จะเป็นสีอ่อนๆเช่น ชมพุ เขียว ฟ้า เหลือง เหมาะสำหรับทำปกรายงาน2.สีสีที่ใช้ในงานกราฟิคมีหลายชนิด สามารถจำแนกได้ดังนี้2.1จำแนกตามคุรสมบัติของวัตถุที่ใช้ผสม ได้แก่ สีเชื้อน้ำและสีเชื้อน้ำมัน เช่น สีน้ำ,สีโปสเตอร์2.2จำแนกตามลักษณะการใช้งานได้แก่ สีที่ใช้เขียน ทาระบายและพิมพ์ เช่น สีน้ำ ,สีพลาสติค, สีฝุ่น2.3จำแนกตามคุณลักษณะทางกายภาพ ได้แก่สีที่มีคุณสมบัติแข็ง เหลว ฝุ่นผงและแสง เช่น เป็นท่อน, เป็นก้อน ได้แก่ สีเทียน ,สีไม้,สีน้ำแผ่นที่บรรจุในกล่อง3.วัสดุขีดเขียน แบ่งได้ 2 ประเภท3.1ประเภทปลายปากแข็ง ได้แก่3.1.1ปากกาปลายแหลม3.1.2ปากกาปลายสักหลาด3.1.3ปากกาเขียนแบบ3.1.4ปากกาที่ใช้เขียนโดยทั่วไป3.1.5ดินสอดำ ใช้ในการเขยีน วาดรูป ฯลฯ-H (Hard) เป็นดินสอที่ไส้แข้ง สีอ่อน จะมีตัวเลขจาก H ถึง 4H-B (Black) เป็นดินอสไส้อ่อน มีสีเข้มจะมีตัวเลขจาก B ถึง 6B-HB เป็นดินสอใช้กันทั่วไป มีคาวมแข็งและเข้มปานกลาง3.1.6ดินสอสี3.1.7ดินสอเครยอง3.1.8ดินสอถ่าน3.2ประเภทปลายอ่อน ได้แก่ พู่กันแปรงทาสีฯลฯ3.2.1พู่กันกลม3.2.2พู่กันแบบ4.วัสดุสำเร็จรูป4.1อักษรสำเร็จรูป4.2ชุดเขียนตัวอักษรลีลอย5.วัสดุอื่นๆ เช่น ไม้ฉาก ไม้ที ฯลฯ
ตอบคำถามหน่วยการเรียนที่5
จงตอบคำถามลงในช่องว่างของแต่ละข้อให้ได้ความสมบูรณ์และถูกต้อง
1. การรับรู้ หมายถึงอะไร
ตอบ...กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสเข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี
2. อวัยวะรับสัมผัสมี 5 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น และ กาย
3.องค์ประกอบของกระบวนการรับรู้มี 3 ประการ ได้แก่- อาการรับสัมผัส- อาการแปลความหมายของอาการสัมผัส-ประสบการณ์เดิม
4. ธรรมชาติของการรับรู้มีอะไรบ้าง- การเลือกที่จะรับรู้- การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้าอย่างมีแบบแผน- ความต่อเนื่อง- ความสมบูรณ์
5. สิ่งต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ได้แก่- สิ่งเร้าภายนอก - สิ่งเร้าภายใน- คุณลักษณะของสิ่งเร้า
6. การเรียนรู้ หมายถึงอะไร- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ก่อนข้างถาวร และพฤติกรรมนี้เป็นผลจากประสบการณ์หรือการฝึกฝนมิใช่การตอบสนองจากธรรมชาติ วุฒิภาวะ หรือความบังเอิญ เป็นต้น
7. จงเขียนแผนภูมิการแบ่งกลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ให้ถูกต้องทฤษฎีการเรียนรู้
1.กลุ่มทฤษฎีสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง1.1ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง1.2ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข1.2.1)การเรียนรู้แบบคลาสิค 1.2.2)การเรียนรุ้แบบจงใจกระทำ 2.กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ2.1Gestalt T2.2Field T8.บลูม จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 3 หมวด ได้แก่- พุทธพิสัย- จิตพิสัย- ทักษะพิสัย9.สภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้มี 4 ประการ คือ- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม- ป้อนข้อมูลย้อนกลับทันที- จัดประสบการณ์ที่เป็นผลสำเร็จ- การประมาณการที่ละน้อย10.จงเขียนแผนภูมิกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ให้ถูกต้องการรับรู้ตามแนวพุทธศาสตร์1.อวัยวะรับสัมผัส}การรับสัมผัส การรับรู้ ความรู้สึก ความจำ ความคิด2.สิ่งเร้าภายนอก}
คำถามหน่วยที่4
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
2 .การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการสั่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกต่างๆ ตลอดจนประสบการณ์จากฝ่ายหนึ่ง(ผู้ส่งสาร)สู่อีกฝ่ายหนึ่ง(ผู้รับสาร)
3. Sender --> Message --> Channel --> Reciever
4. สาร หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิ
5. Elemnts หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี ...ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ หรือสีแดงสีเหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่นำองค์ประกอบย่อยมารวมกัน ...ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค หรือ สีของรูปร่าง รูปทรง
7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่ง ...ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร
8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ที่ถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ...ตัวอย่างเช่น ใช้ Style ในการสื่อความหมาย
9. Code หมายถึงกลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ,ความต้องการ ...ตัวอย่างเช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กริยาท่าทาง
10 .อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน, อากาศร้อน ,แสงแดง
11 .อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด ,ความวิตกกังวล ,อาการเจ็บป่วย
12. Encode หมายถึง การแปลความต้องการของคนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆได้
13. Decode หมายถึง การเลือกสื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง ..... กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบดัง นี้ ครู --> เนื้อหา หลักสูตร --> สื่อหรือช่องทาง --> นักเรียน
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน...1.ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ให้กับผู้เรียน...2.ผู้สอนไม่คำนึงถึงความสามารถของผู้เรียน...3.ผู้สอนไม่สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน...4.ผู้สอนใช้คำยากทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ...5.ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาวกวน...6.ผู้สอนใช้สื่อไม่เหมาะสม
ตอบคำถามหน่วยที่3
1.จงอธิบายคำว่า ระบบ ให้ถุกต้อง
-ระบบ คือ ดร. เปรื่องกุมุท ได้กล่าว ระบบคือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอย่ในโครงร่างหรือกระบวนการนั้นสำหรับ ดร.ชัยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้คำนิยามว่า ระบบ คือเป็นส่วนร่วมของหน่วยซึ่งเป็นงานอิสระจากกัน แต่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ กำหนดไว้ เช่น ระบบศึกษา จะมีองค์ประกอบเป็นหน่วย่อยลงไปคือ การเรียน การสอนการจัดการบริการ อาคาร สถานที่ และเครื่องอำนวยความสะดวก ชุมชน และผู้เรียน
2.จงเขียนแบบจำลององค์ประกอบของระบบให้ถุกต้อง
-องค์ประกอบของระบบ มี 3ประการ คือ1.ข้อมูล(input)2.กระบวนการ(process)3.ผลลัพธ์(output)
3.จงบอกคุรค่าของการจัดระบบมาอยางน้อย 3 ข้อ
-1.เป็นแนวในการดำเนินงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ 2.ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
3.สามารถสร้างแบบจำลองเพื่อช่วยป้องกันการลงทุนที่ไม่จำเป็นได้ 4.สามารถตรวจสอบเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานได้ทุกขั้นตอน 5.สามารถดัดแปลงระบบที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับงานอื่นๆได้
5.จงอธิบายระบบย่อยของระบบสื่อการสอนให้ถูกต้อง
-ระบบย่อย คือเป็นระบบที่มีจำนวน 30-50 คน ลักษระของการสอนจะเป็น แบบบรรยาย การสาธิต การทดลอง อภิปราย ศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น